ถั่ว5สี บำรุงร่างกาย (กินถั่วยังไงให้บำรุง)
- ถั่วแดงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองปริแตกได้[4]
- ช่วยขับพิษในร่างกาย[3]
- ในถั่วยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารที่สามารถละลายน้ำได้ จึงช่วยในขบวนการทำความสะอาดของร่างกายได้ตามธรรมชาติ นอกจากจะช่วยทำความสะอาดลำไส้แล้ว ยังช่วยขจัดการสะสมของสารพิษในลำไส้ได้อีกด้วย[4]
- ช่วยบำรุงลำไส้[4]
- ช่วยในการขับถ่าย ช่วยในการย่อยอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่[4]
- ช่วยบรรเทาอาการจุกเสียดแน่นท้อง[4]
- ช่วยขับปัสสาวะ[3],[6]
- ช่วยบำบัดอาการประจำเดือนผิดปกติของสตรี[3]
- ช่วยลดอาการบวมน้ำ[6]
- ช่วยป้องกันและลดอาการเหน็บชา[4]
- ถั่วดำมีรสหวาน ช่วยบำรุงโลหิต[2]
- ช่วยบำรุงสายตา[2]
- ช่วยขจัดพิษในร่างกาย[2]
- ช่วยขับเหงื่อ[2]
- ช่วยแก้อาการร้อนใน[2]
- ช่วยรักษาดีซ่าน[2]
- ถั่วดำมีสารที่ช่วยบรรเทาอาการปวดลำไส้เล็ก[2]
- ช่วยขับลมในกระเพาะ[2]
- ช่วยขับของเหลวในร่างกาย[2]
- ช่วยบำรุงไต ป้องกันไตเสื่อม[2]
- ช่วยแก้อาการบวมน้ำ[2]
- ช่วยแก้อาการเหน็บชา[2]
- ช่วยแก้อาการปวดเอว[2]
- เป็นอาหารเสริมลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพ
- ช่วยให้ร่างกายลดการดูดซึมสารอาหารประเภทแป้งได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- ช่วยเผาผลาญไขมันเปลี่ยนเป็นพลังงานแทน
- ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล
- ฟื้นฟูในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน
- ช่วยระบบขับถ่าย
- แก้ปัญหาท้องผูก
- ช่วยสร้างและซ่อมแซมเซลล์
- ช่วยฟื้นฟูเซลล์และอวัยวะที่เสื่อมสภาพ
- มีโพแทสเซียมช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อในร่างกายให้แข็งแรง[4]
- ถั่วเขียวมีสารต้านเอนไซม์โปรตีเอสในปริมาณสูง ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง[5]
- ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันและรักษาไข้หวัด[3],[5],[7],[10]
- ถั่วเขียวอุดมไปด้วยแมกนีเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยในการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ช่วยผลิตโปรตีน และการหดตัวของกล้ามเนื้อ[5]
- ช่วยลดความดันโลหิต[3]
- ช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ควบคุมน้ำหนักได้ เพราะถั่วเขียวมีส่วนประกอบของไขมันที่ต่ำมาก ไม่มีคอเลสเตอรอล และยังอุดมไปด้วยโปรตีนกับเส้นใยอาหาร[5]
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ[5]
- ถั่วเขียวมีฤทธิ์เย็น ออกฤทธิ์ตามเส้นลมปราณของหัวใจและม้าม[6]
- ถั่วเขียวอุดมไปด้วยธาตุเหล็กซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกาย[5]
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและเบาหวานได้[3],[5]
- ช่วยขับร้อน แก้อาการร้อนใน และช่วยแก้พิษในฤดูร้อน[3],[7]
- ถั่วเขียวมีประโยชน์ต่อลำคอและผิวหนัง และยังช่วยแก้อาการกระหายน้ำได้อีกด้วย[3],[9]
- เมล็ดถั่วเขียวนำมาต้มกับเกลือ ใช้อมเพื่อรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้[7]
- ช่วยถอนพิษในร่างกาย[3]
- ช่วยบำรุงสายตา[3] ทำให้ตาสว่าง และรักษาตาอักเสบ (เปลือกสีเขียว)[9] ช่วยแก้อาการตาพร่า ตาอักเสบ ด้วยการรับประทานถั่วเขียวต้มครั้งละ 15-20 กรัมเป็นประจำ[9]
- ช่วยแก้อาการอาเจียนจากการดื่มเหล้า ด้วยการดื่มน้ำถั่วเขียวพอประมาณ[9]
- ช่วยขับของเหลวในร่างกาย[3]
- ในถั่วเขียวอุดมไปด้วยเส้นใยที่สามารถละลายน้ำได้ดี จึงช่วยในขบวนการทำความสะอาดของร่างกายอย่างเป็นธรรมชาติ[5]
- ถั่วเขียวอุดมไปด้วยวิตามินบี 2 ที่ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอกได้[5]
- ถั่วเขียวมีเส้นใยอาหารสูงจึงช่วยในการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และยังส่งผลดีต่อระบบลำไส้โดยรวมอีกด้วย[5]
- เมล็ดถั่วเขียวนำมาต้มแล้วกิน ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ[6],[8],[9]
- ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ[3]
- ช่วยบำรุงตับ[5],[6]
- ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต ด้วยการใช้เปลือกเมล็ดแห้งประมาณ 10-15 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม (เปลือกเมล็ด)[8]
- กากถั่วเหลืองช่วยป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด (กากเมล็ด)[8]
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และมีบางการศึกษาระบุว่า การบริโภคถั่วเหลืองเป็นประจำ อาจช่วยลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชาย และมะเร็งเต้านมในเพศหญิงวัยที่ยังมีประจำเดือน แต่อาจเพิ่มโอกาสของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในเพศหญิงวัยที่หมดประจำเดือนแล้วได้ ซึ่งเป็นผลมาจากสารไฟโตเอสโตรเจน แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจน และยังไม่สามารถระบุได้ว่า ถั่วเหลืองสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้[9] ช่วยป้องกันโรคมะเร็งของเนื้อเยื่อระบบสืบพันธุ์ (สารไฟโตเอสโตรเจน)[11] ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งช่องคลอด มะเร็งต่อมลูกหมาก (Isoflavones)[14],[15] และจากงานศึกษาในประเทศญี่ปุ่นและจีนพบว่า
- ผู้ที่กินซุปเต้าเจี้ยวมากจะมีอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่ำกว่า[12]
- ผู้ที่ชอบรับประทานซุปที่ทำจากถั่วเหลือง จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเพียง 1 ใน 3 ของผู้ที่ไม่ได้รับประทาน[10]
- ผู้ที่รับประทานเต้าหู้มากจะมีอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งกระเพาะอาหารต่ำ [12]
- ผู้ที่กินถั่วเหลืองมากกว่า 5 กิโลกรัมต่อปี จะมีอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารลดลง 40%[12]
- ผู้ชายที่กินเต้าหู้มากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์ จะมีอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นครึ่งหนึ่งของผู้ชายที่กินเต้าหู้น้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์[12]
- ผู้ที่รับประทานอาหารที่ประกอบด้วยถั่วเหลืองน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม 2 เท่า และมะเร็งปอดเป็น 3.5 เท่าของผู้ที่กินอาหารที่ประกอบด้วยถั่วเหลืองทุกวัน[12] สำหรับมะเร็งปอด สารไอโซฟลาโวนจะช่วยถ่วงการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งไว้ (แต่ต้องไม่ใช้ถั่วเหลืองที่ผ่านการหมัก และจะได้ประโยชน์เฉพาะกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่)[14]
- การบริโภคอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลืองจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้ถึง 30% (ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติ)[14]
- จากการศึกษาทดลองพบว่า Isoflavones สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนมะเร็งในสัตว์ทดลองได้[15]
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง[11]
- กรดไขมันไม่อิ่มตัวในถั่วเหลืองสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้[11] และจากการศึกษาพบว่า ถั่วเหลืองมีฤทธิ์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ถึง 15-20% โดยผลจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียนที่ได้ทำการทดลองในคนไข้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลมากกว่า 300 เนื่องมาจากพันธุกรรม[10] และจากการศึกษาพบว่า ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือง 25 กรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับไขมันเลว (LDL) ลดลงร้อยละ 18 และมีระดับไขมันดี (HDL) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20[12]
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ และสมาคมแพทย์โรคหัวใจในสหรัฐฯ ให้คำแนะนำว่า ให้รับประทานโปรตีนจากถั่วเหลืองวันละ 25 กรัม จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้[11],[12] และช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด (สารไฟโตเอสโตรเจน)[12]
- เส้นใยอาหารจากถั่วเหลือง สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ (แอนดริว พี โกลด์เบิร์ก) และผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต ดร.เดวิด เจนคินส์ ยังกล่าวว่า ถั่วเหลืองเป็นพืชที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีที่สุด[10]
- ช่วยป้องกันการขาดแคลเซียม ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูก[6] ช่วยลดความรุนแรงของโรคกระดูกผุ[10] ช่วยลดการสลายของกระดูก และป้องกันโรคกระดูกพรุน[12],[14]
- ช่วยบำบัดและรักษาผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต เนื่องจากถั่วเหลืองมีสารไอโซฟลาโวน ที่ช่วยทำให้เลือดลมเดินสะดวก ซึ่งเป็นผลการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮ่องกงที่ทำการศึกษากับคนไข้ 102 รายที่เป็นอัมพาตเพราะเส้นเลือดเลี้ยงสมองอุดตันมาก่อนและเป็นโรคหัวใจในเวลาต่อมา[14]
line @dr_tee 👉🏻
คลิ๊ก >>> https://goo.gl/X8j3e7
ติดตามอ่าน คลังบทความเกี่ยวกับแพทย์จีนได้ ที่
🎉 http://www.dr-tee.com
✅instargram : yaowakiat
✅ช่องยูทูป : ดร เยาวเกียรติ แพทย์จีน ฝังเข็ม
https://m.youtube.com/channel/UC-CZY_E5fBsjFWz4rxPJ3EQ
✅กลุ่มFacebook สุขภาพดี สไตล์หมอจีน
https://m.facebook.com/groups/1412208708920279?group_view_referrer=profile_browser&_rdc=1&_rdr
#หมอตี้ #รักษาไต #ไตวาย #ไตเสื่อม #สมุนไพรจีน #ยาจีน #หมอแมะ #ฝังเข็ม #ฝังเข็มรักษาโรค #ไตพร่อง #ไตอ่อนแอ #หมอจีนรักษาไต #โรคต่อมลูกหมากโต #โรคภูมิแพ้ #ฉี่ค้าง #ฉี่กระปิดกระปอย #ฉี่ไม่สุด #นอนไม่หลับ #เบาหวาน #ปวดหัว #เวียนหัว #เหนื่อยง่าย #อ่อนเพลีย #บำรุงร่างกาย #แพทย์ทางเลือก #แพทย์จีน #หมอจีน #เจินฟู่คลินิกการแพทย์จีนแผน #โชคชัย4 #คนขี้หนาว #คนขี้ร้อน #การ์ตูนหมอจีน
คลิ๊ก >>> https://goo.gl/X8j3e7
ติดตามอ่าน คลังบทความเกี่ยวกับแพทย์จีนได้ ที่
🎉 http://www.dr-tee.com
✅instargram : yaowakiat
✅ช่องยูทูป : ดร เยาวเกียรติ แพทย์จีน ฝังเข็ม
https://m.youtube.com/channel/UC-CZY_E5fBsjFWz4rxPJ3EQ
✅กลุ่มFacebook สุขภาพดี สไตล์หมอจีน
https://m.facebook.com/groups/1412208708920279?group_view_referrer=profile_browser&_rdc=1&_rdr
#หมอตี้ #รักษาไต #ไตวาย #ไตเสื่อม #สมุนไพรจีน #ยาจีน #หมอแมะ #ฝังเข็ม #ฝังเข็มรักษาโรค #ไตพร่อง #ไตอ่อนแอ #หมอจีนรักษาไต #โรคต่อมลูกหมากโต #โรคภูมิแพ้ #ฉี่ค้าง #ฉี่กระปิดกระปอย #ฉี่ไม่สุด #นอนไม่หลับ #เบาหวาน #ปวดหัว #เวียนหัว #เหนื่อยง่าย #อ่อนเพลีย #บำรุงร่างกาย #แพทย์ทางเลือก #แพทย์จีน #หมอจีน #เจินฟู่คลินิกการแพทย์จีนแผน #โชคชัย4 #คนขี้หนาว #คนขี้ร้อน #การ์ตูนหมอจีน
Post a Comment