เบาหวานลงไตรักษายังไงในแพทย์จีน
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโรคเบาหวานในไตทางด้านแพทย์แผนตะวันตกกันก่อน โรคเบาหวานในไตนั้นเป็นโรคแทรกซ้อนรุนแรงเกี่ยวกับหลอดเลือดขนาดเล็กในร่างกาย เกิดได้ทั้งในผู้ป่วยโรคเบาหวาน type 1 และ type 2 ปัจจุบันพบว่าโรคนี้ได้คร่าชีวิตคนไปจำนวนไม่น้อย อาการที่ปรากฏในระยะแรกของผู้ป่วยโรคเบาหวานคือมักพบโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะ จากนั้นจึงมีภาวะบวมน้ำและความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้หากปล่อยไว้เป็นเวลานานส่งผลให้การทำงานของระบบไตเสื่อมลงและทำให้เกิดโรคไตวายได้ในที่สุด
การวินิจฉัยโรคโดยแพทย์จะพบ UREA (อัตราการขับโปรตีนในไต) ในปัสสาวะสูงกว่าปกติ ซึ่งอยู่ระหว่าง 20-200 Ug/min หรือ 24 H-TP 30-300 mg/24 h รวมถึงการตรวจปัสสาวะติดต่อกัน 2 ครั้ง พบว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะมากกว่า 0.5g/24h ซึ่งในทางคลินิกนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานเมื่อมีการตรวจพบว่าตัวเองมีค่า URAE หรือ 24h-TP (อัตราการขับโปรตีนในปัสสาวะใน24ชม) สูงมีอาการบวมน้ำ ความดันโลหิตสูง
ค่าต่างๆ ในไตสูงขึ้น หรือดวงตาฝ้าฟาง เช่นนี้แล้วควรคำนึงถึงโรคเบาหวานในไตด้วย แต่มีข้อยกเว้นสำหรับคนที่มีโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตอื่นๆ โรคหัวใจวาย โรคเหล่านี้อาจทำให้ค่าไข่ขาวหรือโปรตีนในปัสสาวะเพิ่มสูงขึ้นได้เช่นกัน
ปัจจุบันการแบ่งระยะของโรคเบาหวานในไตมีดังต่อไปนี้
ระยะที่ 1 ค่า GFR (อัตราที่เลือดไหลผ่านไตเรียกว่า glomerular filtration rate) สูงขึ้น ในระยะเริ่มแรกลักษณะของไตจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเลือดไปเลี้ยงไตมากขึ้น ในระยะแรกนี้จะไม่มีโปรตีนในปัสสาวะและไม่มีอาการแสดงของโรค
ระยะที่ 2 URAE ยังคงมีค่าปกติแต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพที่ตัวกรองไตแต่ยังคงไม่แสดงอาการใดๆ ในระยะนี้เกิดภายหลังจากเป็นโรคเบาหวานแล้วประมาณ 2 ปี
ระยะที่ 3 โรคเบาหวานลงไตในระยะแรก เกิดหลังจากเป็นโรคเบาหวานแล้วประมาณ 10-15 ปี ในระยะนี้จะตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะในปริมาณเล็กน้อย ระยะนี้ค่าของ UAER จะมีค่าประมาณ 20-200 μmol/min หรือ 30-300 mg/24 ชม ถ้าหากมีภาวะความดันโลหิตสูงมาร่วมด้วยส่งผลให้การเสื่อมของไตเร็วขึ้น
ระยะที่ 4 ระยะของโรคเบาหวานลงไตหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานาน 15-20 ปี ระยะนี้ค่า UAER มีค่าประมาณ ≥200 μmol/min หรือ ≥300 mg/24 ชม. ในระยะนี้ถ้าหากไม่รีบรักษาอัตราการเสื่อมของไตจะเสื่อมเร็วกว่าคนปกติถึง 10 เท่า เข้าสู่ระยะไตวายได้อย่างรวดเร็ว ในระยะนี้ผู้ป่วยมักมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ไม่มีแรง อ่อนเพลีย หนาวง่าย คันตามผิวหนังโดยไม่รู้สาเหตุ และมีอาการซีดเนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดแดงในร่างกายต่ำลง เป็นต้น
และระยะสุดท้าย ไตวาย ค่า GFR น้อยกว่า 10 ml/min เป็นไตวายระยะสุดท้าย การทำงานของไตลดลงเหลือไม่ถึงร้อยละ 5 ของปกติ และมีของเสียคั่งในร่างกายจำนวนมาก ผู้ป่วยปัสสาวะน้อยมากจนไม่มีปัสสาวะ มีอาการซึมเศร้า ไม่รู้สึกตัว มีอาการช็อกหมดสติและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ในระยะนี้จะต้องมีการรักษาที่เหมาะสม เช่น การล้างไต เป็นต้น
ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้วในระยะที่ 1 หรือ 2 นั้นจะไม่เห็นอาการที่แน่ชัด ผู้ป่วยจึงละเลยการดูแลเอาใจใส่ตัวเอง ฉะนั้นเมื่อเรารู้ตัวว่าเป็นโรคนี้แล้วควรป้องกันและรักษาแต่เนิ่นๆ เช่น ในระยะแรก ถ้าหากรู้ว่าเป็นโรคเบาหวานแล้วควรที่จะเข้ารับการรักษาทันที หรือดูแลสุขภาพร่างกายเพื่อไม่ให้อาการของโรคลามไปเป็นไตวายในระยะสุดท้าย
ทางด้านการรักษาแบบแพทย์แผนจีนเน้นไปทางป้องกัน บรรเทาอาการ ลดปริมาณโปรตีนที่ไหลออกมากจากปัสสาวะและลดปริมาณของเสียที่อยู่ในเลือดของผู้ป่วย ผลการวิจัยจำนวนมากในประเทศจีนพบว่าผู้ป่วยที่รับประทานยาจีนร่วมด้วยนั้น มีคุณภาพชีวิตแตกต่างจากก่อนที่ไม่รับประทานยาจีน และเมื่อรับประทานยาจีนร่วมด้วยในระยะเวลาหนึ่ง อาการต่างๆ สามารถทุเลาลงอย่างเห็นได้ชัด ภูมิคุ้มกันในร่างกายเพิ่มขึ้น คุณภาพชีวิตก็ดีขึ้นตามลำดับ ผู้ป่วยหลายท่านกลัวว่าการรับประทานยาจีนนั้นอาจจะทำให้กระบวนการกรองของเสียของไตทำงานหนักกว่าปกติ ปัจจุบันในประเทศจีนมีการวิจัยและยอมรับในแพทย์แผนตะวันตกแล้วว่า การรักษาโรคเบาหวานลงไตด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีนนั้นถ้ารักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ดีกว่ารักษาในระยะสุดท้าย เพราะเมื่อเป็นระยะสุดท้ายแล้วต้องรักษาโดยการฟอกไต ล้างไตหรือเปลี่ยนไตเท่านั้น
อนึ่ง โรคเบาหวานในไตตามหลักของแพทย์แผนจีนคือ การนำชื่อของโรคเบาหวานและโรคไตมารวมกันเรียกว่า 消渴病 ซึ่งแต่ละตัวอักษรมีความหมายตามลำดับดังนี้ 消 แปลว่าเผาผลาญ渴คืออาการกระหายน้ำเพราะคนที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่มีอาการกระหายน้ำ รับประทานอาหารมาก ปัสสาวะมาก บางคนถึงกับน้ำหนักลดลงเปรียบเสมือนกับไฟที่คุกกรุ่นเผาผลาญอยู่ในร่างกายและยังมีอาการของโรคไตเข้าร่วมด้วย
นอกจากนี้การวิเคราะห์อาการตามหลักหยินหยางสามารถจำแนกลักษณาการต่างๆ ได้ดังนี้
1. ชี่พร่อง ผู้ป่วยมีอาการหลักคือ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่อยากพูด เหงื่อออกง่าย เป็นต้น
2. เลือดพร่อง ผู้ป่วยสีหน้าไม่มีชีวิตชีวา หมองคล้ำ เล็บมือสีจาง เป็นต้น
3. ธาตุอินพร่อง ผู้ป่วยมีอาการร้อนภายใน เช่น รู้สึกฝ่ามือฝ่าเท้าและรอบแก้มร้อน เหงื่อออกง่าย เหงื่อออกเวลากลางคืน ท้องผูกง่าย อ่อนเพลียได้ง่าย เป็นต้น
4. ธาตุหยางพร่อง ผู้ป่วยมีอาการปวดเอว ขี้หนาว บวมน้ำ ปัสสาวะบ่อยกลางคืน เป็นต้น
5. เลือดคั่ง มีอาการปวดเหมือนเข็มแทง ปวดมากในเวลากลางคืน อาการชาบริเวณมือและเท้า ผิวหนังตกสะเก็ดง่ายกว่าคนปกติทั่วไป เป็นต้น
6. เสมหะติดค้าง ผู้ป่วยมีอาการรู้สึกอึดอัดบริเวณหน้าอกหรือท้องอึดบ่อยๆ ไม่อยากอาหาร น้ำหนักตัวมาก รู้สึกตัวหนักศีรษะและเหนื่อยง่าย เป็นต้น
7. ความชื้น ผู้ป่วยมีอาการไม่อยากอาหาร รับประทานอาหารน้อย อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการเหนียวในปาก ปากมีกลิ่นเหมือนแอปเปิ้ลเน่า ความรู้สึกนึกคิดช้ากว่าคนปกติ และมีอาการคันตามผิวหนัง เป็นต้น
ทั้งนี้แพทย์แผนปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่หายขาด ผู้ป่วยต้องรักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต ควบคุมไขมันในเลือดไปพร้อมกัน ถ้าหากควบคุมไม่ได้นั้นต้องใช้ยาเข้าร่วมด้วย เป็นต้น
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคนี้
1) ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร อาหารที่รับประทานควรเป็นโปรตีนที่มาจากสัตว์วันละไม่เกิน 100 กรัม น้ำนม 250 มิลลิลิตร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มหรือไขมันสูง ซึ่งอาหารเหล่านี้ส่งผลให้ไตทำงานหนักมากยิ่งขึ้น ทั้งยังควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้น้ำตาลสูงด้วย
2) ถ้าหากมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นใส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หนาวง่าย คันตามผิวหนังโดยไม่รู้สาเหตุ อาการแบบนี้อย่านิ่งดูดาย ควรรีบไปปรึกษาหรือพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
3) ควบคุมอารมณ์ตามหลักแพทย์จีน การควบคุมอารมณ์นั้นสำคัญมาก เพราะความเครียดทำให้ไม่หายจากโรค รวมถึงยังบั่นทอนจิตใจไปในคราวเดียวกันอีกด้วย
4) พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรทำงานหนักหรือเหนื่อยจนเกินไป การทำงานหนักทำให้ระบบหมุนเวียนของเลือดไหลเร็วมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ไตทำงานหนักยิ่งขึ้น ทั้งนี้ตามหลักแพทย์แผนจีน การพักผ่อนควรมีลักษณะของการเข้านอนเร็วและตื่นเช้าเพื่อให้เลือดลมในร่างกายไหลเวียนได้สะดวก ธาตุอินและหยางได้ปรับสมดุล และมีภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับโรคนั้นๆ
5) หมั่นตรวจสุขภาพตัวเองบ่อยๆ อย่างน้อย 3-6 เดือนครั้ง โดยเฉพาะตรวจค่าตับ ค่าไต ค่าเลือดและค่าปัสสาวะ เป็นต้น เพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้
กดเข้าไปในรูปภาพแล้วแชร์ให้คนอื่นได้เลย
อย่าลืมติดตามความรู้ดีๆจากแพทย์จีนได้ที่เพจ
ดร เยาวเกียรติ แพทย์จีน ฝังเข็ม
แสกนLineไว้เลยครับ ข่าวสารดีๆจะส่งถึงมือคุณ
เพียงคลิ๊ก https://goo.gl/X8j3e7
หรือค้นหา @dr_tee (มี@ด้วยนะครับ)
#หมอตี้ #รักษาไต #ไตวาย #ไตเสื่อม #สมุนไพรจีน#ยาจีน#หมอแมะ#ฝังเข็ม #ฝังเข็มรักษาโรค #ไตพร่อง #ไตอ่อนแอ #หมอจีนรักษาไต #โรคต่อมลูกหมากโต #โรคภูมิแพ้ #ฉี่ค้าง #ฉี่กระปิดกระปอย #ฉี่ไม่สุด #นอนไม่หลับ #เบาหวาน #ปวดหัว #เวียนหัว #เหนื่อยง่าย #อ่อนเพลีย #บำรุงร่างกาย #แพทย์ทางเลือก #แพทย์จีน #หมอจีน #หัวเฉียวแพทย์แผนจีน #หัวเฉียว #คนขี้หนาว #คนขี้ร้อน
สามารถเข้ามาปรึกษาปัญหาสุขภาพ
และรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน ฝังเข็ม
และให้ยาสมุนไพรจีนบำรุงสุขภาพ รักษาโรค
หากท่านใด เข้ามาที่คลินิกแนะนำให้นัดเวลาก่อนล่วงหน้านะครับ
อย่าลืมติดตามความรู้ดีๆจากแพทย์จีนได้ที่เพจ
ดร เยาวเกียรติ แพทย์จีน ฝังเข็ม
หรือแสกนQR code
แสกนLineไว้เลยครับ ข่าวสารดีๆจะส่งถึงมือคุณ
เพียงคลิ๊ก https://goo.gl/X8j3e7
หรือค้นหา @dr_tee (มี@ด้วยนะครับ)
Post a Comment